
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ เรามักจะได้ยินข่าวการเกิดแผ่นดินไหวในแถบประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้งขึ้น ทำให้คนไทยเริ่มตื่นตัวกับเรื่องแผ่นดินไหวมากขึ้น และโดยเฉพาะในรอบประเทศไทยเองก็มีแนวรอยเลื่อนที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ รวม 3 จุด ทั้งที่รอยเลื่อนสะแกง พาดผ่านตอนกลางประเทศพม่า รอยเลื่อนซุนดา อยู่บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินโดนีเซีย และรอยเลื่อนฟิลิปปินส์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ ฉะนั้นแล้ว ณ วันนี้ เราก็ควรทำความรู้จักกับเรื่องแผ่นดินไหวให้มากขึ้น รวมทั้งวิธีเตรียมการรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
สำหรับ "แผ่นดินไหว" ถือเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ในโลก เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ซึ่งปกติจะเกิดการเคลื่อนที่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ทำให้ชั้นหินขนาดใหญ่ใต้พื้นผิวโลกเคลื่อนที่ตามไปด้วย และเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ จนเกิดการสั่นสะเทือนเกิดขึ้น โดยจุดที่แผ่นดินเกิดการเคลื่อนที่นั้นเรียกว่า "จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว"
ทั้งนี้ ทั่วโลกมีเขตรอยต่อแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามมามากมาย แต่จุดที่เป็นรอยต่อขนาดใหญ่ และเป็นจุดเกิดแผ่นดินไหวมากกว่า 80% ของพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก คือ บริเวณวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ที่อยู่รอบมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งประกอบไปด้วยหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ชิลี นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฯลฯ
ที่มักจะเกิดแผ่นดินไหวนอกจากวงแหวนแห่งไฟแล้ว ก็ยังมีแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางทวีปยุโรปตอนใต้ แถบเทือกเขาอนาโตเลีย ที่ประเทศตุรกี ผ่านบริเวณตะวันออกกลาง จนถึงเทือกเขาหิมาลัย เช่น ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศจีน และประเทศพม่า
อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะมีพลังทำลายล้างได้มากแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่รู้สึกได้มากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยหากอยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ก็จะมีความเสียหายมากกว่าจุดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างออกไป
สำหรับการวัดขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) ใช้ระบบการวัดได้หลายรูปแบบ แต่ที่เป็นที่นิยมที่สุด คือ มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหวแบบริกเตอร์ โดยขนาดของแผ่นดินไหวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้
ขนาดแผ่นดินไหว | จัดอยู่ในระดับ | ผลกระทบ | อัตราการเกิดทั่วโลก |
1.9 ลงไป | ไม่รู้สึก (Micro) | ไม่มี | 8,000 ครั้ง/วัน |
2.0-2.9 | เบามาก (Minor) | คนทั่วไปมักไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้าง และตรวจจับได้ง่าย | 1,000 ครั้ง/วัน |
3.0-3.9 | เบามาก (Minor) | คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง | 49,000 ครั้ง/ปี |
4.0-4.9 | เบา (Light) | ข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ | 6,200 ครั้ง/ปี |
5.0-5.9 | ปานกลาง (Moderate) | สร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงนั้นไม่มีปัญหา | 800 ครั้ง/ปี |
6.0-6.9 | แรง (Strong) | สร้างความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร | 120 ครั้ง/ปี |
7.0-7.9 | รุนแรง (Major) | สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่า | 18 ครั้ง/ปี |
8.0-8.9 | รุนแรงมาก (Great) | สร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร | 1 ครั้ง/ปี |
9.0-9.9 | รุนแรงมาก (Great) | "ล้างผลาญ" ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร | 1 ครั้ง/20 ปี |
10.0 ขึ้นไป | ทำลายล้าง (Epic) | ไม่เคยเกิด จึงไม่มีบันทึกความเสียหายไว้ | 0 |
สำหรับการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) ในประเทศไทยจะใช้มาตราเมอร์แคลลี่ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เขียนตามสัญลักษณ์เลขโรมัน
อันดับที่ | ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ |
I | เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ |
II | พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ |
III | พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก |
IV | ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว |
V | รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว |
VI | รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว |
VII | ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย |
VIII | เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา |
IX | สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก |
X | อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ |
XI | อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน |
XII | ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน |
สำหรับวิธีปฏิบัติตัว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ให้ข้อแนะนำไว้ดังนี้ค่ะ































ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น