Chrome - Background
Welcome to my blog ยินดีต้อนรับ

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สหกรณ์



บิดาสหกรณ์โลก
สหกรณ์ถือกำเนิดขึ้นในยุโรปในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก การกว้านซื้อที่ดินส่งผล ให้ประชาชนชั้นรากฐานไร้ที่ดินทำกิน ละทิ้งถิ่นฐานเข้าไปขายแรงงานในเมืองหลวง ความยากจนยิ่งโหมกระหน่ำ จากสังคมที่เคยเกื้อกูลดังเช่นในชนบทได้จางหายไปทุกคนต้องต่อสู้ดิ้นรนเอาตัวรอด ถึงกระนั้นความพยายามแสวงหาวิธี สร้างสังคมใหม่ควบคู่กันไปกับระบบเศรษฐกิจที่ ยั่งยืนได้ใช้เวลาเนิ่นนานจึงคิดค้นวิธีการได้สำเร็จ เรียกว่า" การสหกรณ์ " และถือว่า โรเบิร์ด โอเวน เป็นบิดาสหกรณ์โลก
สหกรณ์แห่งแรกของโลก
ความลำบากยากแค้นของผู้ใช้แรงงานในโรงงานท่อผ้า ณ เมืองรอชเดล ประเทศอังกฤษ ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการซื้อสินค้าเงินเชื่อรวมกับดอกเบี้ยสูง และการจ่ายค่าจ้างเป็นสิ่งของ เป็นแรงผลักดันให้มีการแสวงหาทางรอด ตามวิธีสหกรณ์ คือร้านสหกรณ์ รอชเดล โดยสมาชิกผู้ก่อตั้ง มีข้อตกลงร่วมกันในหลักเกณฑ์ที่เรียกว่า กฎ 10 ประการ และกฎนี้เป็นแม่บทของ หลักการสหกรณ์ สหกรณ์นี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นสหกรณ์แห่งแรกของโลก การดำเนินงานของสหกรณ์รอชเดล ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือสมาชิกเฉพาะในด้านเครื่องโภคภัณฑ์เท่านั้น ยังมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านการศึกษา เพราะเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ใช้แรงงานมีความรู้น้อย การศึกษาจึงมีความจำเป็น โดยได้เปิดสอน ในวิชาการต่าง ๆ แก่สมาชิกในยามว่าง ก็คือ เวลากลางคืน จึงเรียกว่า " โรงเรียนกลางคืน "
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ความลำบากยากเข็ญที่กระจายอยู่ทั่วไป เยอรมันก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำเนิดสหกรณ์เครดิต (สหกรณ์สินเชื่อ หรือ ธนาคารสหกรณ์) ซึ่งมี 2 ประเภท คือ สหกรณ์ในเมือง มีเฮอร์มัน ชุลซ์ - เดลิทซ์ (Hermanu Schulze - Delitzsch) เป็นผู้ให้กำเนิดสหกรณ์ สำหรับประชาชนผู้ยากจนในเมือง และ สหกรณ์เครดิตในชนบท มีฟรีดริช วิลเฮล์ม ไรฟ์ไฟเซน (Friedrich Wilhelm Raiffisen) เป็นผู้ให้กำเนิด ในการจัดตั้งสหกรณ์สำหรับชาวนา โดยได้ขยายไปทั่วเยอรมนีและสหกรณ์เหล่านี้ได้ร่วมตัวกันก่อตั้ง สถาบันกองทุนกลางในภูมิภาคต่าง ๆในที่สุดได้ก่อตั้งสถาบันกลางระดับชาติ
วันสหกรณ์สากล (International Cooperativees Day)
สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีหลายประเภทหลายระดับรวมเป็นขบวนการสหกรณ์ของประเทศนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแตกต่างกันไป มองในภาพรวมเรียกได้ว่าเป็น " ขบวนการสหกรณ์โลก " มีการประชุมสมัชชาสหกรณ์ระหว่างชาติ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2438 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีมติก่อตั้งองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ ( องค์การ ICA ) เพื่อประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิชเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2538 องค์การ ICA ได้ปรับปรุงและประกาศหลักการเป็น 7 ประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้องค์การ ICA ได้ประกาศให้สหกรณ์ทั่วโลกร่วมเฉลิมฉลองวันสหกรณ์สากลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2465 ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535 มีมติให้วันเสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมทุกปี เป็น " วันสหกรณ์สากล "
ประวัติสหกรณ์ไทย บิดาและสหกรณ์แรกของไทย

สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ "
ขบวนการสหกรณ์ไทย
การสหกรณ์ได้แพร่หลายเริ่มตั้งแต่การตราพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459 เพื่อทดลอง และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 เป็นพระราชบัญญัติสหกรณ์ฉบับแรกที่ส่งเสริมให้สหกรณ์ร่วมกลุ่ม กันก่อตั้งชุมนุมสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ก็ได้เกิดขึ้นโดยการรวม กลุ่มกันของสหกรณ์ท้องถิ่น ได้จดทะเบียนเป็นประเภทชุมชนสหกรณ์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 มีพระบรมราช โองการ ประกาศพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มีผลทำให้สันนิบาตสหกรณ์ แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ เลิกไป และให้มีการก่อตั้งสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยขึ้นแทนโดยผลแห่งกฎหมายสหกรณ์ฉบับนั้นพระราช บัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้บังคับในปัจจุบัน กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ และกอง ทุนพัฒนาสหกรณ์ ( อยู่ไต้ พรบ. ปี 2511 อยู่แล้ว )
การจัดรูปองค์การของสหกรณ์
- สหกรณ์ไม่ใช้องค์การของรัฐ เพื่อดำเนินธุรกิจหรือกิจกรรมทางสังคม - สหกรณ์ไม่ใช้บริษัทเอกชน เพื่อดำเนินธุรกิจแสวงหาผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้น - สหกรณ์ไม่ใช้องค์การของรัฐ ไม่เป็นกระทรวงทะบวง และกรมต่าง ๆ - สหกรณ์ไม่ใช้องค์การ เพื่อสร้างสีสันทางการเมือง ซึ่งไม่ได้มอบบริการที่บริสุทธ์เหมาะสมดั่งที่สมาชิกต้องการ " สหกรณ์ " ตามความหมายขององค์การสัมพันธ์ภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ คือ องค์การอิสระของบุคคลซึ่งร่วมกัน ด้วย ความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการ และจุดมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยการดำเนิน วิสาหกิจที่ พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกันบริหารงาน และควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย
หลักการสหกรณ์ 7 ประการ
1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ 2.การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง 3.การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก 4.การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ 5.การศึกษา ฝึกอบรม และข่าวสาร 6.การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ 7.ความเอื้ออาทรต่อชุมชน
หน้าที่ของรัฐบาลต่อสหกรณ์
สหกรณ์เป็นองค์การปกครองตนเองโดยไม่ถูกควบคุมและชี้นำโดยรัฐบาล และบทบาทของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสหกรณ์ คือ การออกกฎหมาย นโยบาย การจดทะเบียน การอำนวยความสะดวก การให้คำแนะนำและการชำระบัญชี
ความเสมอภาคเท่าเทียมของสมาชิก
สหกรณ์เป็นองค์การที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนองค์การรูปแบบใด เพราะการดำเนินการสหกรณ์จะมีกำไรหรือขาดทุนสมาชิกคือ ผู้รับที่ได้รับการแบ่งปันผลการดำเนินการอย่างเท่าเทียมกัน เพราะว่า สมาชิกเป็นเจ้าของสหกรณ์และเป็นผู้ใช้บริการสหกรณ์ การมารับบริการจากสหกรณ์ของสมาชิกเป็นชัยชนะของสมาชิก นี่คือความแตกต่าง ถ้าสมาชิกผู้ถือหุ้นไม่มาใช้บริการขององค์สหกรณ์ ก็ไม่ใช่สหกรณ์ เพราะการรวมกันเป็นสหกรณ์ คือความต้องการใช้บริการของสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของตน นั่นหมายถึง สมาชิกแต่ละคนเพื่อทุกคนและทุกคนเพื่อแต่ละคน (Each for all and All for each)
การลงทุนในสหกรณ์
สมาชิกเป็นผู้ออกทุนในสหกรณ์ ด้วยการถือหุ้นเพื่อใช้เงินทุนนั้นในการดำเนินธุรกิจด้วยการจัดหาบริการด้านต่างๆ ให้แก่มวลสมาชิก หากเงินทุนไม่เพียงพอ สามารถ จัดหาเงินทุนด้วยการกู้ยืม การขอรับการอุดหนุนจากแหล่ง ต่างๆ ได้แต่การบริหารจัดการเงินทุนต้องอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลระหว่างสินทรัพย์ กับ หนี้สินและทุนสหกรณ์เป็นองค์การเศรษฐกิจ จึงต้องมีความสามารถในการบริหารเงินทุนให้มีประสิทธิผล และเป็นไปอย่างเปิดเผย มีการตรวจสอบบัญชี และการตรวจสอบกิจการ ซึ่งสามารถตรวจสอบโดย เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล หรือขบวนการสหกรณ์ โดยจัดจ้างบริษัทเอกชนภายนอกก็ได้
การดำเนินการธุรกิจสหกรณ์
สมาชิกสหกรณ์มีสิทธิหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายแห่งรัฐ กฎหมายต่างๆ รู้วิธีการและ เทคนิคต่างๆ เพราะการบริหารจัดการสหกรณ์ที่ควบคุมโดยสมาชิกนั้น ต้องใช้ความชำนาญการอย่างยิ่งในการบริหาร เงินทุนบุคลากร ทรัพยากร

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อควรรู้เมื่อเกิดแผ่นดินไหว


แผ่นดินไหว

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ เรามักจะได้ยินข่าวการเกิดแผ่นดินไหวในแถบประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้งขึ้น ทำให้คนไทยเริ่มตื่นตัวกับเรื่องแผ่นดินไหวมากขึ้น และโดยเฉพาะในรอบประเทศไทยเองก็มีแนวรอยเลื่อนที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ รวม 3 จุด ทั้งที่รอยเลื่อนสะแกง พาดผ่านตอนกลางประเทศพม่า รอยเลื่อนซุนดา อยู่บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินโดนีเซีย และรอยเลื่อนฟิลิปปินส์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ ฉะนั้นแล้ว ณ วันนี้ เราก็ควรทำความรู้จักกับเรื่องแผ่นดินไหวให้มากขึ้น รวมทั้งวิธีเตรียมการรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
          สำหรับ "แผ่นดินไหว" ถือเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ในโลก เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ซึ่งปกติจะเกิดการเคลื่อนที่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ทำให้ชั้นหินขนาดใหญ่ใต้พื้นผิวโลกเคลื่อนที่ตามไปด้วย และเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ จนเกิดการสั่นสะเทือนเกิดขึ้น โดยจุดที่แผ่นดินเกิดการเคลื่อนที่นั้นเรียกว่า "จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว"

          ทั้งนี้ ทั่วโลกมีเขตรอยต่อแผ่นเปลือกโลกที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามมามากมาย แต่จุดที่เป็นรอยต่อขนาดใหญ่ และเป็นจุดเกิดแผ่นดินไหวมากกว่า 80% ของพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก คือ บริเวณวงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) ที่อยู่รอบมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งประกอบไปด้วยหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ชิลี นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฯลฯ

          ที่มักจะเกิดแผ่นดินไหวนอกจากวงแหวนแห่งไฟแล้ว ก็ยังมีแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางทวีปยุโรปตอนใต้ แถบเทือกเขาอนาโตเลีย ที่ประเทศตุรกี ผ่านบริเวณตะวันออกกลาง จนถึงเทือกเขาหิมาลัย เช่น ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศจีน และประเทศพม่

          อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะมีพลังทำลายล้างได้มากแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่รู้สึกได้มากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยหากอยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ก็จะมีความเสียหายมากกว่าจุดอื่น ๆ ที่อยู่ห่างออกไป

         สำหรับการวัดขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) ใช้ระบบการวัดได้หลายรูปแบบ แต่ที่เป็นที่นิยมที่สุด คือ มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหวแบบริกเตอร์ โดยขนาดของแผ่นดินไหวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้
 
ขนาดแผ่นดินไหว จัดอยู่ในระดับ ผลกระทบ อัตราการเกิดทั่วโลก 
 1.9 ลงไป ไม่รู้สึก (Micro) ไม่มี 8,000 ครั้ง/วัน
 2.0-2.9 เบามาก (Minor) คนทั่วไปมักไม่รู้สึก แต่ก็สามารถรู้สึกได้บ้าง และตรวจจับได้ง่าย 1,000 ครั้ง/วัน
 3.0-3.9 เบามาก (Minor) คนส่วนใหญ่รู้สึกได้ และบางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง     49,000 ครั้ง/ปี
 4.0-4.9 เบา (Light) ข้าวของในบ้านสั่นไหวชัดเจน สามารถสร้างความเสียหายได้ 6,200 ครั้ง/ปี
 5.0-5.9 ปานกลาง (Moderate) สร้างความเสียหายยับเยินได้กับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคง แต่กับสิ่งก่อสร้างที่มั่นคงนั้นไม่มีปัญหา 800 ครั้ง/ปี
 6.0-6.9 แรง (Strong) สร้างความเสียหายที่ค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร 120 ครั้ง/ปี
 7.0-7.9 รุนแรง (Major) สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่า 18 ครั้ง/ปี
 8.0-8.9 รุนแรงมาก (Great)     สร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อยกิโลเมตร 1 ครั้ง/ปี
 9.0-9.9 รุนแรงมาก (Great)     "ล้างผลาญ" ทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีเป็นพันกิโลเมตร 1 ครั้ง/20 ปี
 10.0 ขึ้นไป ทำลายล้าง (Epic)   ไม่เคยเกิด จึงไม่มีบันทึกความเสียหายไว้ 0
 


          สำหรับการวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) ในประเทศไทยจะใช้มาตราเมอร์แคลลี่ ซึ่งมีทั้งหมด 12 อันดับ เขียนตามสัญลักษณ์เลขโรมัน
 

 
 อันดับที่ลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบ 
 I เป็นอันดับที่อ่อนมาก ตรวจวัดโดยเครื่องมือ
 II พอรู้สึกได้สำหรับผู้ที่อยู่นิ่ง ๆ ในอาคารสูง ๆ
 III พอรู้สึกได้สำหรับผู้อยู่ในบ้าน แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึก
 IV ผู้อยู่ในบ้านรู้สึกว่าของในบ้านสั่นไหว
 V รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
 VI รู้สึกได้กับทุกคนของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
 VII ทุกคนต่างตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฎความเสียหาย
 VIII เสียหายค่อนข้างมากในอาคารธรรมดา
 IX สิ่งก่อสร้างที่ออกแบบไว้อย่างดี เสียหายมาก
 X อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
 XI  อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบน พื้นดินอ่อน
 XII ทำลายหมดทุกอย่าง มองเห็นเป็นคลื่นบนแผ่นดิน
 

          
สำหรับวิธีปฏิบัติตัว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ให้ข้อแนะนำไว้ดังนี้ค่ะ


 ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว

          1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน

          2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

          3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น

          4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า

          5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้

          6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน

          7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมตัวกันอีกครั้งในภายหลัง

          8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

          9. ตรวจสอบบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ยึดติดอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ กับพื้นหรือผนังบ้านอย่างแน่นหนา
แผ่นดินไหว

 ระหว่างการเกิดแผ่นดินไหว

          1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ เพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน

          2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืน หรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง

          3. กรณีอยู่ในอาคาร ให้หาที่หลบกำบังในบริเวณที่ปลอดภัย พร้อมใช้มือกำบังศีรษะและลำคอ โดยหมอบบริเวณใต้โต๊ะ เก้าอี้ที่แข็งแรง ไม่มีสิ่งของหล่นใส่ หรือในจุดที่มีโครงสร้างแข็งแรง ไม่อยู่ใต้คานหรือใกล้เสา อยู่ให้ห่างจากประตู หน้าต่างที่เป็นกระจกและเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถล้มลงมาได้ ห้ามวิ่งหนีออกจากอาคารโดยใช้ลิฟต์ เพราะหากกระแสไฟฟ้าดับ จะติดค้างอยู่ในลิฟต์ ทำให้ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้ และไม่ควรใช้บันไดหนีไฟ เพราะอาจได้รับอันตรายจากสิ่งของที่ร่วงหล่นจากแรงสั่นสะเทือน หรือบันไดหนีไฟอาจร่วงหล่นมาจากตึกได้

          4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง

          5. อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น

          6. หากกำลังขับรถ ให้หยุดรถในบริเวณที่ปลอดภัยและรอจนกว่าเหตุแผ่นดินไหวสงบค่อยขับรถต่อ ห้ามหยุดรถบริเวณใต้สะพาน ทางด่วน ป้ายโฆษณาและต้นไม้ขนาดใหญ่ เพราะเสี่ยงต่อการถูกล้มทับ 

          7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว

          8.  กรณีอยู่บริเวณชายทะเล หากสังเกตเห็นน้ำทะเลลดระดับอย่างรวดเร็ว ให้รีบหนีขึ้นที่สูงหรือออกห่างจากชายฝั่งทะเลให้มากที่สุด เพราะอาจเกิดคลื่นสึนามิ ถ้าอยู่ในเรือ ให้นำเรือออกสู่กลางทะเล และรอจนกว่าสถานการณ์สงบ จึงค่อยนำเรือกลับเข้าฝั่ง

 หลังการเกิดแผ่นดินไหว

          1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน

          2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้

          3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง

          4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว

          5. ตรวจสอบว่าแก๊สรั่วด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน

          6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง

          7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ

          8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้

          9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง

         10. อย่าแพร่ข่าวลือ หรือหลงเชื่อข่าวลือ